ยานยนต์ไฟฟ้า




       จากการที่น้ำมันปิโตรเลียมมีแนวโน้มที่จะ หมดไปในอนาคต  และได้มีการประมาณการไว้ว่ารถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจะเริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ ค.ศ. 2020 และจะเข้ามาแทนที่ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้เครื่องยนต์สันดาป ทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้พลังงานทดแทนมาแทนที่ โดยพลังงานทดแทนหนึ่งที่มีความน่าสนใจ คือ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตได้จากหลายกรรมวิธี เช่น จาก พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ถ่านหิน หรือแม้กระทั่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ โดยยานยนต์ที่มีการพัฒนาให้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน อาทิ ยานยนต์ Hybrid Electric Vehicle (HEV) ยานยนต์ Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) รวมถึง ยานยนต์ Electric Vehicle (EV)
       ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
       -ยานยนต์ 
Hybrid Electric Vehicle (HEV) เป็นยานยนต์ที่ผสานเครื่องยนต์สันดาปภายในของรถในปัจจุบันพร้อมด้วยแบตเตอรี่และ มอเตอร์ไฟฟ้าของรถไฟฟ้า ทำให้สามาถลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ในระยะทางที่วิ่งเท่ากัน และมีประมาณไอเสียต่ำ ดังนั้นจึงเป็นการดูแลรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
       หลักการทำงานของยานยนต์  
Hybrid Electric Vehicle (HEV) คือ เป็นการผสานการทำงานจากแหล่งพลังงานสองแหล่ง คือ จากเครื่องยนต์ และไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ โดยภาพรวมขั้นตอนการทำงาน ของยานยนต์  Hybrid Electric Vehicle (HEV) เป็นดังนี้
            1. ที่ความเร็วต่ำ
            จากเริ่มออกตัวสู่ความเร็วต่ำพลังงาน จากแบตเตอรี่จะถูกส่งไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อขับชุดอุปกรณ์ส่งถ่ายกำลัง เพื่อไปขับเคลื่อน ล้อรถ และเมื่อใดที่พลังงานสะสมในแบตเตอรี่ต่ำ เครื่องยนต์จะมีการทำงานและเปลี่ยนรูปจาก พลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยเจเนอเรเตอร์ และไปสะสมไว้ในแบตเตอรี่ 

            2. ที่อัตราเร่งสูง
            พลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนจะมาจากเครื่องยนต์ โดยส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนรูปจากพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเจเนอเรเตอร์ ไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับชุดอุปกรณ์ส่งถ่ายกำลังเพื่อไปขับเคลื่อนล้อรถ และนอกจากนี้ยัง มีพลังงานเพิ่มเติมที่ใช้ในการขับเคลื่อนจาก แบตเตอรี่อีกทางหนึ่ง 

            3. การขับขี่บนทางด่วน หรือ ความเร็วสูง พลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนจะมาจาก เครื่องยนต์ โดยส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนรูปจาก พลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเจเนอเรเตอร์ ไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อขับชุดอุปกรณ์ส่งถ่าย กำลังเพื่อไปขับเคลื่อนล้อรถ ซึ่งขณะที่ความเร็ว ลดลง พลังงานกลบางส่วนที่ได้จากเครื่องยนต์ จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยเจเนอเรเตอร์ และไปสะสมไว้ในแบตเตอรี่ 
            4. ขณะลดความเร็ว/มีการเบรค เมื่อมีการลดความเร็วหรือเบรคนั้น พลังงานจลน์ที่ได้จากการลดความเร็วหรือเบรค จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมอเตอร์ ไฟฟ้า (ซึ่งขณะนี้ทำหน้าที่เป็นGenerator) แล้ว ไปสะสมในแบตเตอรี่ 
            5. ขณะรถยนต์หยุดนิ่ง เครื่องยนต์จะหยุดการทำงานเพื่อเป็นการ ประหยัดความสิ้นเปลืองการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ขณะที่มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานอย่างเงียบๆ โดย เตรียมพร้อมในการทำงานต่อไป และเมื่อใดที่ พลังงานสะสมในแบตเตอรี่ต่ำ เครื่องยนต์จะมี การทำงานและเปลี่ยนรูปจากพลังงานกลเป็น พลังงานไฟฟ้าโดย Generator และไปสะสมไว้ ในแบตเตอรี่
       -ยานยนต์ Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) เป็นนวัตกรรมหนึ่งของการพัฒนายานยนต์ที่ใช้ พลังงานทางเลือก หลักการทำงานของรถยนต์ Plug-in Hybrid ก็จะคล้ายกับรถ Hybrid Electric Vehicle คือ จะเป็นการผสานทำงานของเครื่องยนต์ เผาไหม้ภายในที่ใช้ในปัจจุบันกับพลังงานไฟฟ้า แต่ยานยนต์ PHEV นั้นจะมีข้อแตกต่างตรงที่ พลังงานไฟฟ้าที่ได้สามารถชาร์จได้จากไฟบ้าน โดยใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 5-8 ชั่วโมง หรือ เครื่องชาร์จที่ออกแบบมาพิเศษ (Quick Charge) โดยใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 30 นาที ซึ่งจะสามารถประจุไฟฟ้าได้ประมาณ 80% และ สามารถขับเคลื่อนที่ระยะทางที่ไม่ไกลมากโดยใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว ทำให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้สูง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
       -ยานยนต์ 
Electric Vehicle (EV) ใช้พลังงาน ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่อย่างเดียว โดยไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน จึงไม่มีสารมลพิษที่เกิดขึ้นในขณะขับเคลื่อนหรือที่ เรียกว่า Zero Emission

            
       วัสดุที่ใช้สำหรับยานยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
       มีแนวโน้มในการใช้วัสดุที่เบาขึ้น เพื่อช่วยประหยัดพลังงานในการขับขี่ แต่ยังคงมีความปลอดภัยเท่าเดิมหรือดีขึ้น ตัวอย่างวัสดุนี่นำมาใช้ ได้แก่
            ๐ เหล็กชนิดพิเศษ ที่มีความแข็งแรงสูง น้ำหนักน้อย มีความยืดหยุ่นเมื่อโดนแรงกระแทก
            ๐ คาร์บอนไฟเบอร์ มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก
 50% และเบากว่าอะลูมิเนียม 30% คาร์บอนไฟเบอร์ ช่วยลดน้ำหนักได้ในระดับเดียวกับแมกนีเซียม นำมาผลิตเป็นส่วนประกอบบางส่วน เช่น หลังคาคาร์บอนไฟเบอร์  ซึ่งรถที่มีน้ำหนักเบานอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยให้การขับเคลื่อนคล่องตัวยิ่งขึ้น
            ๐ พลาสติก ที่มีการวิจัยเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักได้ดี ทนความร้อนสูง และเก็บของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาแทนที่วัสดุที่มีน้ำหนักมาก ได้แก่ สานต่อเชื่อม โครง ฉนวน มาผลิตเป็นชิ้นส่วนภายใน เช่น ที่นั่ง และระบบป้องกันเสียงรบกวน
      วัสดุอื่นๆ เช่น ฝากระโปรงหน้า ประตู และ ฝาปิดถังน้ำมัน ทำด้วยอะลูมิเนียม ซึ่งมีน้ำหนักน้อยกว่าเหล็กถึง ใน 3 เท่า
       การชาร์จไฟฟ้าเข้าไปในยานยนต์ 
       เป็นการชาร์จแบตเตอรี่โดยใช้ไฟฟ้าบ้านใช้ เวลาชาร์จประมาณ ชั่วโมง หากใช้ า Quick Charge ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
       ปัจจุบันยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยโดยภาครัฐได้ให้การสนับสนุน และแนวโน้มที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันพัฒนาเพื่อส่งเสริมยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ได้แก่ การพัฒนาสถานีบริการชาร์จไฟฟ้าแบตเตอรี่ การจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในอนาคต การสนับสนุนให้มีการติดตั้ง Solar Roof Top เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งเสริมด้านการลงทุน และการให้ Incentive ด้านภาษี เมื่อประเทศไทยมีวางแผนและเตรียมความพร้อมในด้านดังกล่าว จะให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตยานยนต์ Plug-in Hybrid Electric Vehicle ในอนาคต เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และดูแลสิ่งแวดล้อมไปในขณะเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้ประเทศ เติบโตอย่างยั่งยืนสืบไป

อ้างอิง
http://www.enconlab.com/etuktuk/index.php/menu-news-etuktuk/22-2017-09-18-08-57-07

http://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/10620-2016-05-23-05-58-05

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิวัฒนาการการศึกษาปฐมวัย

การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่